Angry Birds

วันจันทร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ครอบครัวอบอุ่น

เลี้ยงลูกอย่างไรให้เป็นคนเก่งและดี
    โลกของเราทุกวันนี้เล็กลงไปถนัดใจ   การเปลี่ยนแปลงภายนอกประเทศมีผลกระทบต่อสภาพเศรษฐกิจและสังคมในประเทศอย่างรวดเร็ว    ความอยู่รอดของครอบครัว  สังคมและประเทศจึงขึ้นอยู่กับพ่อแม่ว่ามีความรู้  ความสามารถ  และความดีมากน้อยแค่ไหนในการเลี้ยงลูกให้เป็นคนเก่งและคนดี
    การเลี้ยงลูกให้เป็นคนดีควบคู่กับการเป็นคนเก่งเป็นเรื่องใหญ่  ที่พ่อแม่จะไม่สนใจศึกษาหาความรู้ไม่ได้อีกแล้ว  เก่งแต่ไม่ดีก็ไปไม่รอด  ดีแต่ไม่เก่งก็ไม่ทันโลก  ต้องทั้งเก่งและดีจึงจะทันโลก  และพาส่วนรวมไปรอด
    บางครอบครัว  พ่อก็เป็นคนดี  แม่ก็เป็นคนดี  ลูกก็เป็นเด็กฉลาดแต่พ่อแม่เลี้ยงลูกไม่เป็น  ผลสุดท้ายลูกกลับกลายเป็นเด็กมีปัญหาโดยที่พ่อแม่ก็หาสาเหตูไม่เจอว่าตนเองบกพร่องตรงไหน
ครอบครัว ๔ ประเภท
    การที่พ่อแม่จะเลี้ยงลูกให้เป็นคนคนเก่งและคนดีได้  ต้องมีสิ่งสำคัญ ๒ ประการนี้ให้แก่ลูกอย่างต่อเนื่อง
๑)     ความรู้ในการเลี้ยงลูกให้เป็นคนเก่งและคนดี
๒)    เวลาสำหรับการสั่งสอน-ฝึกฝน-อบรมลูกให้เป็นคนเก่งและดี
แต่เพราะพ่อแม่บางครอบครัวก็สามารถให้สิ่งสำคัญ ๒ ประการนี้ได้ไม่เท่ากัน  ทุกวันนี้เราจึงได้เห็นครอบครัว ๔ ประเภทเกิดขึ้นในสังคม
    ประเภทที่ ๑ มีเวลา  แต่ไม่มีความรู้
    ประเภทที่ ๒ มีความรู้  แต่ไม่มีเวลา
    ประเภทที่ ๓ ไม่มีความรู้  และไม่มีเวลา
    ประเภทที่ ๔ มีความรู้  และมีเวลา
 

  ครอบครัว ๓ ประเภทแรก  เป็นครอบครัวที่ลูกได้รับการอบรมสั่งสอนให้เป็นคนดีน้อยมาก  แม้อยู่ในครอบครัวที่มีฐานะเงินทองดี  แต่ก็เหมือนถูกปล่อยไปตามยถากรรม  ลูกมีโอกาสที่จะเสียคนได้มาก  เพราะมีเวลาออกนอกลู่นอกทางโดยที่พ่อแม่ไม่รู้ตัว
    ครอบครัวประเภทที่ ๔ เป็นครอบครัวที่ลูกได้รับการถ่ายทอดทั้งความรู้ความสามารถ  และความดีอย่างเต็มที่  เพราะพ่อแม่ให้ทั้งความรู้และเวลาแก่ลูกอย่างต่อเนื่อง  ไม่ปล่อยลูกไปตามยถากรรม  แม้ฐานะทางเศรษฐกิจอาจจะไม่ดี  แต่ลูกย่อมมีความสามารถในการสร้างหลักฐานชีวิตของตนเองได้อย่างแน่นอน


ยกตัวอย่างเช่น  นิสัยที่เกิดจากการใช้ปัจจัย ๔
เด็ก ๓ คน  แม่ให้นมในเวลาที่ไม่เหมือนกัน  ก็ได้นิสัยไม่เหมือนกัน
    เด็กคนแรก  แม่ให้นมไม่เป็นเวลา   พอเด็กหิวไม่ได้กินต้องร้องไห้เกรี้ยวกราด  เด็กจึงได้นิสัยเจ้าโทสะ  ต้องอาละวาดก่อนจึงจะได้กิน  แล้วก็ติดนิสัยว่าอยากได้อะไร  ต้องประถ้วง  ต้องทำลาย  เหมือนพ่อแม่ได้  ลูกเสือมาเลี้ยงไว้
    เด็กคนที่สองแม่ไห้นมตลอดเวลา  แม้เด็กไม่หิวนมก็ไหลเข้าปากของเด็กเอง  เด็กก็เลยตัวอ้วนอารมณ์ดี  แต่เข็นไม่ขึ้น  เพราะเฉื่อยแฉะ  ขี้เกียจเหมือนพ่อแม่ได้ลูกหมูมาเลี้ยงไว้
    เด็กคนที่สาม  แม่ให้นมเป็นเวลา  ได้นิสัยตรงต่อเวลา  สุขภาพแข็งแรง  มีเหตุมีผล  อารมณ์ดี  รับผิดชอบ  ตัดสินใจดี  เลี้ยงง่าย  เหมือนได้บัณฑิตนักปราชญ์มาอยู่ในบ้าน
    เพราะฉะนั้นบ่อเกิดนิสัยดีและเลวของลูกก็มาจากการฝึกให้ลูกคิดย้ำพูด  ทำ  ผ่านปัจจัย ๔ ผ่านงานที่ทำ  และผ่านกิจวัตรประจำวันในทางดีหรือเลวนั่นเอง
    ถ้าพ่อแม่จะเพาะคุณสมบัติของลูกที่ดี  คือ  ไม่โง่  ไม่แสบ  ไม่แล้งน้ำใจให้แก่ลูกรัก  ก็ต้องฝึกความเคารพ  ความมีระเบียบวินัย  และความอดทน  โดยฝึกผ่านปัจจัย ๔ ที่ลูกใช้  ฝึกผ่านงานที่ลูกรับผิดชอบ  และฝึกผ่านกิจวัตรประจำวันของลูก  นิสัยที่ดี  คือ  ไม่โง่  ไม่แสบ  ไม่แล้งน้ำใจก็จะเกิดขึ้นมาประจำตัวลูกอย่างแน่นอน
    ปัญญาทางธรรม  คือ  ปัญญาที่ใช้สำหรับการตัดสินถูก-ผิด  ชั่ว-ดี  บุญ-บาป  ควร-ไม่ควรทำซึ่งเด็กจะต้องได้อาศัยจากการศึกษาคำสอนในพระพุทธศาสนา  และฝึกภาคปฏิบัติด้วยการที่พ่อแม่นำลูกทำความเคารพปู่ย่าตายาย  เพื่อรับฟังโอวาท  ฟังข้อคิดประสบการณ์  ความทันโลก  ทันชีวิต  ทันคนจากผู้ใหญ่
     แหล่งปัญญาทางธรรมที่เคารพแล้วจะทำให้เกิดปัญญา  มี ๗ แหล่งคือ
     เคารพในพระพูทธ
             เคารพในพระธรรม
             เคารพในพระสงฆ์
             เคารพในการศึกษา
             เคารพในการฝึกสมาธิ
             เคารพในความไม่ประมาท
             เคารพในการปฏิสันถาร
    แหล่งปัญญาทางธรรมทั้ง ๗ ประการนี้  ยิ่งฝึกให้เด็กมองเห็นคุณค่าและคุณประโยชน์ตามความเป็นจริงได้ออกมามากเท่าไหร่  ปัญหาทางธรรมของเด็กก็จะยิ่งมากขึ้นเท่านั้น
    ถ้าเด็กคนไหนได้พ่อแม่ที่ศึกษาธรรมมะจากแหล่งปัญญาทางธรรมทั้ง ๗ ประการนี้เพื่อเตรียมตัวมาสอนลูกตั้งแต่ก่อนแต่งงานแล้ว  ก็จะโชคดีมากๆ  คือ  พ่อแม่ก็จะได้ลูกมีบุญมาเกิดเป็นบัณฑิตนักปราชญ์ในบ้านและลูกก็จะได้พ่อแม่ที่เป็นแหล่งปัญญาทางธรรมรอคอยอยู่แล้ว  วงศ์ตระกูลนี้  ก็จะมีแต่บัณฑิตนักปราชญ์มาเกิดเป็นลูกหลาน  เพื่อมาสร้างความเจริญรุ่งเรืองให้แก่วงศ์ตระกูล
เลี้ยงลูกอย่างไรให้ไม่แสบ
    เด็กที่จะไม่แสบนั้น  พ่อแม่ก็ต้องฝึกเด็กให้มีวินัยทั้งทางโลกและทางธรรมผ่านการใช้ปัจจัย ๔ ผ่านงานในบ้านและผ่านกิจวัตรประจำวันโดยพ่อแม่ต้องทำให้ลูกดูเป็นตัวอย่างก่อน
    วินัยทางโลกมี ๔ ข้อได้แก่
๑.      วินัยต่อคำพูด
๒.    วินัยต่อเวลา
๓.     วินัยต่อความสะอาด
๔.     วินัยต่อความเป็นระเบียบ
เลี้ยงลูกอย่างไรให้ไม่แล้งน้ำใจ
    เด็กที่จะไม่แล้งน้ำใจนั้น  ต้องถูกฝึกให้เป็นคนที่พึ่งตนเองได้ก่อนจึงจะสามารถช่วยเหลือคนอื่นได้  ซึ่งเรื่องนี้พ่อแม่ต้องฝึกลูกให้มีความอดทนติดตัวไปถ้าดูผิวเผินเด็กที่ไม่แสบไม่โง่  ก็น่าจะพอเป็นคนดีได้แร้วแต่ความจริงคือไม่พอ  เพราะเกิดเป็นคนแล้ว  ต้องให้ประโยชน์ส่วนรวมด้วย  ยกตัวอย่างเช่น  ถ้าเราปลูกมะม่วงไว้ต้นหนึ่งรดน้ำพรวนดินใส่ปุ๋ยผ่านมาสิบปีปรากฏว่ามะม่วงก็ไม่ออกผลให้กินเสียทีในที่สุดก็ต้องโค่นต้นมะม่วงนั้นทิ้ง




อ้างอิง:พระสูตรและอรรถกถาแปล  อังคุตรนิกาย  จตุกนิบาต  เล่มที่  ๓๕กรุงเทพฯ

            โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย,๒๕๒๕